98

ไข้คือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติคือ สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส การที่ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การอยู่ในที่ที่อากาศร้อน อยู่กลางแดดหรืออยู่ในที่ที่มีการระบายของอากาศไม่ดี หลังจากการฉีดวัคซีน จากการรับประทานอาหาร เช่นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่ร้อน จากอาการแพ้ จากโรคต่างๆ รวมถึงจากการติดเชื้อเช่นติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น อาการแสดงว่าร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติคือหน้าแดง ผิวแห้งและร้อนขึ้น ปัสสาวะมีปริมาณลดลงหรือมีสีเข้มขึ้น ไม่อยากอาหาร มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ถ้ามีอาการดังกล่าวควรวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อตรวจสอบว่ามีไข้หรือไม่ โดยการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายหรือการวัดไข้ สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ทั้งการวัดอุณหภูมิทางปาก ทางรักแร้ ทางหน้าผาก ทางรูหูหรือทางรูทวาร โดยสามารถเลือกใช้ที่วัดอุณหภูมิที่มีหลากหลายชนิด ทั้งที่วัดไข้แบบปรอท ที่วัดไข้แบบดิจิทัล (digital thermometer) หรือแม้กระทั่งที่วัดไข้แบบยิงหน้าผาก (Infrared thermometer) ซึ่งทุกชนิดมีความแม่นยำในการวัดไข้ถ้าใช้อย่างถูกวิธี  

 

สิ่งที่ควรระวังเมื่อมีไข้คือภาวะชักจากไข้ที่สูง (อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 39 องศาเซลเซียส) ซึ่งพบมากในเด็กเล็ก อายุ 6 เดือนถึง 6 ปี ปกติจะหายเองใน 3-5 นาที แต่ถ้าหากมีอาการชักติดต่อกันนานมากกว่า 30 นาทีอาจทำให้สมองขาดออกซิเจนจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ นอกจากนี้ควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีไข้พร้อมกับอาการดังนี้ 

• ปวดศีรษะรุนแรง ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน  

• มีอาการคอแข็ง แขนขาอ่อนอ่อนแรง 

• มีอาการสับสน ตาพร่ามัว กระวนกระวาย  

• หายในแน่นติดขัด  

• มีผื่นขึ้นตามลำตัว  

• ปัสสาวะผิดปกติ เช่นปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น ปวดบิดเกร็งขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะแสบขัด  

• มีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วันหลังทานยาลดไข้  

 

การปฏิบัติตัวเมื่อมีไข้

1. เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย  

2. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอุณหภูมิได้ดี เช่นผ้าฝ้ายบาง ๆ  

3. ไม่ห่มผ้าหนา ๆ เพื่อทำให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้  

4. พักผ่อนให้เพียงพอในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศให้โดยตัว  

5. ป้องกันอาการขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ  

6. ทานยาลดไข้เช่นพาราเซตามอล โดยสามารถรับประทานยาเมื่อมีไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง  

 

การใช้แผ่นเจลลดไข้แปะตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีความร้อนสูงเช่นหน้าผาก ข้อพับ สามารถช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้โดยแผ่นเจลจะช่วยดูดซับความร้อน ใช้ร่วมกันกับการเช็ดตัวจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดไข้ และช่วยลดความถี่ในการเช็ดตัว แผ่นเจลลดไข้ในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดทั้งความแตกต่างในด้านขนาดของแผ่นเจล รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามา เช่น เมนทอล โดยสามารถเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยที่มีไข้ เช่นเลือกเจลลดไข้ขนาดเล็กสำหรับเด็กเล็กที่มีขนาดที่พอเหมาะ ลดโอกาสในการเกิดอาการแพ้จากการใช้แผ่นเจลลดไข้ เป็นต้น  


สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เจลลดไข้สำหรับเด็กเล็กคูลฟีเวอร์ซอง 1 ชิ้น > https://bit.ly/3FgAro8 

 


เอกสารอ้างอิง 

1. Fever (2019) Fever | Johns Hopkins Medicine. Available at: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/fever (Accessed: December 9, 2022). 

2. ภาวะไข้ในเด็ก (2022) รามา แชนแนล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81/ (Accessed: December 9, 2022). 

3. (no date) Siriraj E-Public Library. Available at: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=880 (Accessed: December 9, 2022).