330

งูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส varicella-zoster ทำให้มีอาการคือเป็นผื่นแนวยาวที่ผิวหนังบริเวณตามแนวประสาท ลักษณะผื่นจะเริ่มจากผื่นแดง หลังจากนั้นประมาณ 48 ชั่วโมง จะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสและสุดท้ายจะแตกเป็นแผล นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมคือปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นไข้ ร่วมกับอาการคัน ปวด แสบบริเวณผื่นแผล แถมยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่แผล หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หลังจากที่ผื่นหายอาจจะยังมีอาการปวดตามปลายประสาทเหลืออยู่ นอกจากนี้อาจมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น หูไม่ได้ยินเสียง เวียนศีรษะ จอประสาทตาอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต เป็นต้น  


เชื้อไวรัสก่อโรคงูสวัด varicella-zoster เป็นเชื้อตัวเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยหลังจากเป็นโรคอีสุกอีใสเชื้อไวรัสจะฝังตัวที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอ เป็นโรค มีภาวะเนื้องอก มะเร็ง ภูมิคุ้มกันตก ใช้ยากดภูมิ หรือแม้กระทั่งอยู่ในภาวะเครียด เชื้อ varicella-zoster จะทำให้เกิดโรคงูสวัดและมีอาการตามด้านต้น  


การรักษาโรคงูสวัด  

• รับประทานยาฆ่าเชื้อไวรัสให้เร็วที่สุด จะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของโรค  

• รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดแสบแผล 

• ประคบเย็นบริเวณที่เป็นผื่น เพื่อบรรเทาอาการคัน แสบ สามารถทาคาลาไมน์ร่วมด้วย  

• ถ้ามีแผลเปิดให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน  


การป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของโรคงูสวัด 

โรคงูสวัดสามารถแพร่กระจายสู่คนที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือได้รับวัคซีนป้องกันโรค จากการสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค คนที่เป็นงูสวัดควรแยกตัวออกห่างจากฝูงชน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่นแออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เป็นผื่น และล้างมือบ่อย ๆ  


สิ่งที่สำคัญในการป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ คือ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง โดยมีทริคในการเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนี้ 

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  

• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

• เลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา  

• หลีกเลี่ยงความเครียด  

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดไขมัน ธัญพืช นมไขมันต่ำ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามิน A, B6, C, E สังกะสี ซีลีเนียม ธาตุเหล็ก คอปเปอร์ และกรดโฟลิก 

• หลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ควบคุมปริมาณเกลือและน้ำตาลที่รับประทานต่อวัน โดยไม่ทานโซเดียมเกิน 2 กรัม และไม่ทานน้ำตาลเกิน 24 กรัมต่อวัน  


นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส varicella-zoster ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อประเมินอาการและความเสี่ยงในการฉีดได้  โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่สามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรงและเสริมภูมิต้านทานอย่างเป็นประจำ ทั้งนี้ ถ้าเริ่มมีอาการของโรคหรือมีผื่น ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ใกล้บ้านเพื่อทำการประเมินอาการ และทำการรักษาอย่างรวดเร็ว  



เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. Pragya A. Nair, Bhupendra C. Patel, Herpes Zoster. National Center for Biotechnology Information. 2023. April 3.  

2. Shingles (Herpes Zoster). Center for Disease Control and Prevention. 2023. May 10 

3. สุจิตต์ สาลีพันธ์และคณะ. คู่มือกินหวานแค่ไหนไม่ป่วย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

4. Six Tips to Enhance Immunity. Center for Disease Control and Prevention. 2021. September 30 

5. Ho to boost your immune system. Harvard Health Publishing. Harvard Medical School. 2021. February 15 


สินค้าที่เกี่ยวข้อง

อินเตอร์ฟาร์มา มัลติวิตามิน 20 เม็ด ลดราคาพิเศษ 199 บาท (ปกติ 240 บาท)


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

Website: https://exta.co.th/

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

Instagram: instagram.com/extaplus

YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ