พอพูดถึงเรื่องการประคบหลายคนคงจะเจอปัญหาคล้าย ๆ กันไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเลือกว่าจะประคบแบบไหน กับอาการใด แล้ววิธีการประคบแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูล การประคบร้อน-ประคบเย็นกันค่ะ
การประคบร้อน คือ การช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซ่อมแซมการบาดเจ็บให้ดีขึ้น
บรรเทาอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
แล้วเมื่อไหร่ถึงต้องใช้ประคบร้อน หลังได้รับบาดเจ็บหรือฟกช้ำ 48-72 ชั่วโมง หลังจากที่ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน บริเวณที่บาดเจ็บ
แล้วประคบร้อนใช้กับอาการใดได้บ้าง
• ลดอาการปวดหรืออักเสบเรื้อรัง
• ผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง
• ลดอาการตึงบริเวณข้อ ตะคริว
• ออฟฟิศซินโดรม
• ปวดประจำเดือน เต้านมคัดในช่วงให้นมบุตร
• อยู่ในที่เย็นนาน ๆ
วิธีการใช้ประคบร้อน
การประคบร้อนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแผ่นแปะ เจล
รูปแบบแผ่นแปะ คือ แปะลงบนเสื้อผ้าตรงบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อลดการระคายเคืองของผิวหนัง
รูปแบบเจล คือ ให้นำเจลไปแช่ในน้ำร้อนประมาณ 3-5 นาที หลังจากนั้นนำแผ่นเจลมาห่อด้วยผ้าก่อนและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการ ประมาณ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
ข้อควรระวังสำหรับการประคบร้อน คือ
- ไม่ควรประคบร้อนบริเวณที่มีเลือดออกหรือมีแผลเปิด
- ระวังในผู้ป่วยที่มีเส้นประสาทอักเสบ เช่น โรคเบาหวาน
การประคบเย็น คือ ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม
แล้วเมื่อไหร่ถึงต้องใช้ประคบเย็น ทันที หลังการบาดเจ็บภายใน 24-48 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
แล้วประคบเย็นใช้กับอาการใดได้บ้าง
• ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำ จากการกระแทก ปวด บาดเจ็บ
• อาการปวดเฉียบพลัน
• อาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง
วิธีการใช้ประคบเย็น
การประคบเย็นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแผ่นแปะ เจล
รูปแบบแผ่นแปะ คือ แปะลงบนผิวหนังได้โดยตรง
รูปแบบเจล คือ รองผ้าขนหนูก่อนประคบบริเวณที่ปวดหรือบวม ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
ข้อควรระวังสำหรับการประคบเย็น คือ
- ระวังในผู้ที่ทนต่อความเย็นไม่ได้จนกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว
- ผู้ที่แพ้ความเย็น หรือมีผื่นขึ้นง่าย
นี่ก็คือความแตกต่าง วิธีการใช้ประคบร้อน-เย็นให้เหมาะกับอาการ เพียงเท่านี้เราก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธีแล้ว
เอกสารอ้างอิง
1. ประคบร้อน ประคบเย็น ต่างกันอย่างไร ? (2024) รามา แชนแนล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/ (Accessed: 21 March 2024).
2. (No date a) หลักการช่วยเหลือผู้ป่ว... Available at: https://www.thaihealth.or.th/Content/39799-หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น .html (Accessed: 21 March 2024).
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
Website: https://exta.co.th/
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)
Instagram: instagram.com/extaplus
YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ