ภญ.ปิยะนุช เอื้อปัญจะสินธุ์
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเภทชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองลดลง ทำให้มีอาการเศร้า ซึม ไม่มีความสุข มีความวิตกกังวล ซึ่งอาการของผู้ป่วยมีทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ ซึ่งโรคนี้เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย มีข่าวการฆ่าตัวตายจากความเครียด หรือ อาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ทางกรมสุขภาพจิตมีการรณรงค์ในประชาชนทั่วไปรู้จักโรคนี้กันมากขึ้น และมีสายด่วนสุขภาพจิตเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ และจากข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตของคนไทย (Mental Health Check In: MHCI) พบว่า ในไตรมาส 2 ปี 2567 ซึ่งมีผู้เข้ารับการประเมินจำนวน 3.3 แสนคน พบสัดส่วนผู้ที่เสี่ยงซึมเศร้าสูงสุดที่ร้อยละ 5.2 และเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 2.8 จึงจำเป็นต้องรู้ทันโรคซึมเศร้า และรีบเข้ารับการรักษา
หากต้องการรู้ทันโรคซึมเศร้า อาจต้องมีการสังเกตอาการของตนเอง หรือเพื่อนรอบข้างที่คิดว่ามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าโดยสังเกตจากอาการดังนี้
1. มีอารมณ์เศร้า มีอาการอยู่เกือบตลอดทั้งวัน แทบทุกวัน
2. เบื่อหน่าย กิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำชอบทำแทบทั้งหมด
3. เบื่ออาหารจนน้ำหนักลด หรืออาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
4. นอนไม่หลับหรือหลับมากไปแทบทุกวัน
5. ทำอะไรช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้าลง อาจมีหงุดหงิด กระสับกระส่าย
6. อ่อนเพลียหรือไม่มีเรี่ยวแรงทั้งวัน และแทบทุกวัน
7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดมากเกินควร
8. สมาธิลดลง หรือคิดช้าลง
9. มีความคิดอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ หรือพยายามฆ่าตัวตาย
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 5 อาการ และมีอาการติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเข้าข่ายมีภาะวซึมเศร้า ควรโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือเข้าพบจิตแพทย์ต่อไป
อ้างอิง
• สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). ภาวะสังคมไทย ไตรมาสสอง ปี 2567. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
• กรมสุขภาพจิต. (2554, 2555). แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Clinical Practice Guideline of Major Depressive Disorder for General Practitioner). กระทรวงสาธารณสุข.
• กรมสุขภาพจิต. มารู้จักและหาวิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้าสำหรับประชาชน. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์อุบลราชธานี.
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
Website: https://exta.co.th/
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)
Instagram: instagram.com/extaplus
YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ