93

ภญ.ประภัสสร ประดากรณ์ 


ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ กรณีที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะเห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆบางครั้งอาจเห็นเป็นหลาย ๆ ก้อน และสังเกตได้ง่าย เนื่องจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลากลืนน้ำลาย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการและมักพบเป็นก้อนเดี่ยว ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อสังเกตพบว่ามีก้อนเกิดขึ้นบริเวณลำคอ ก้อนมักมีขนาดโตกว่า 1 เซนติเมตร แต่หากตรวจพบโดยการตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์จะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก้อนขนาดเล็กๆ 


ต่อมไทรอยด์ผิดปกติแบ่งได้เป็น 2 ประเภท


ไทรอยด์เป็นพิษ คนไข้จะมีค่าไทรอยด์สูง ร่างกายกระปรี้กระเปร่า กระตือรือร้น ขี้ร้อน เหงื่อแตกง่าย น้ำหนักลงแม้จะทานเยอะ ใจสั่น ใจเต้นเร็ว 


ไทรอยด์ต่ำ หรือไทรอยด์ไม่ทำงาน คนไข้จะมีค่าไทรอยด์ต่ำ ขี้หนาว น้ำหนักขึ้นแม้จะทานน้อย อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรง 


สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ 

โรคไทรอยด์เป็นพิษมีสาเหตุของการเกิดโรคที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย 4-5 เท่า ในบางรายอาจเกิดจากการเป็นโรค Graves โรคที่ร่างกายสร้างสารมากระตุ้นต่อมไทรอยด์เอง ต่อมไทรอยด์อักเสบ หรือมีก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ 


อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

เนื่องจากกว่าไทรอยด์เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานเป็นหลัก ในกรณีที่เรามีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า กระตือรือร้น ขี้ร้อน เหงื่อแตกง่าย น้ำหนักลงแม้จะทานเยอะ ใจสั่น ใจเต้นเร็ว 


 การวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ 

แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเลือดยืนยันทางห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์(Thyroid function test) โดยผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษจะพบมีผลเลือดฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าค่าปกติ 

 

การรักษาโรคไทรอยด์

เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะเริ่มรักษาด้วยการให้ยาต้านไทรอยด์ ส่วนมากใช้เวลาในการกินยาประมาณ 2 ปี เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้กลับมาปกติ ถ้ากินยาแล้วไม่หาย อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีการกลืนแร่ไอโอดีน หรือการผ่าตัดแทน 


สรุป


ในปัจจุบันภาวะไทรอยด์เป็นพิษยังไม่มีวิธีป้องกัน ดังนั้นแนะนำให้ทำร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและทานอาหารที่มีประโยชน์ ถ้ากรณีที่เป็นโรคแล้วผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจติดตามอาการ และรับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หากมีอาการผิดปกติหรืออาการกำเริบต้องรีบพบแพทย์โดยทันที 

 

เอกสารอ้างอิง


1.รศ.พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ.สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร?.https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/. 


2.ผศ.นพ.สิระ กอไพศาล.สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.อาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์.;https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9. 


3.บทความสุขภาพรู้ทันสัญญาณเตือน ก้อนที่ต่อมไทรอยด์. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/979. 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

Website: https://exta.co.th/

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

Instagram: instagram.com/extaplus

YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ