12.1 k

ภญ ชนิดา จินดาสุข


อาการไอ เป็นอาการตอบสนองของร่างกาย ต่อการระคายเคืองทางเดินหายใจ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่นฝุ่น ควัน เสมหะ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการไอ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ไอแห้ง ซึ่งจะมีอาการไอ ระคายเคืองคอ และไอแบบมีเสมหะ อาการไอ อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ เช่นรบกวนการนอนและการรับประทานอาหาร

สาเหตุของอาการไอ มีหลายสาเหตุดังนี้

  1. สิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่นฝุ่น ควัน มลภาวะ ไรฝุ่น ละองงเกสรดอกไม้
  2. การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ วัณโรค เป็นต้น
  3. โรคเรื้อรังบางชนิด เช่นกรดไหลย้อน ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอได้
  4. ยาบางประเภท เช่นยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือทำให้ผู้ป่วยไอ

การบรรเทาอาการไอ สามารถทำได้หลากหลายวิธีดังนี้

  • จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจากน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการระคายเคืองคอ บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มคอ และสามารถช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียว
  • การใช้ยาอม และยาจิบบรรเทาอาการไอ ซึ่งจะมีส่วนผสมที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการคอแห้ง ระคายเคืองซึ่งเป็นสาเหตุของอาการไอ และยังสามารถช่วยขับเสมหะ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่และสารอื่นๆ กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองคอ ทำให้ไอได้ นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง ที่เป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังอีกด้วย
  • การใช้เครื่องพ่นไอน้ำ ช่วยรักษาความชื้นในห้องไม่ให้แห้งเกินไป สามารถป้องกันอาการไอ เนื่องจากคอและทางเดินหายใจแห้งได้
  • หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน สเปรย์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอและทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการไอได้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น จะสามารถป้องกันอาการได้
  • ใช้ยาสำหรับบรรเทาอาการ ซึ่งมีทั้งยาที่ช่วยกดอาการไอ เพื่อบรรเทาอาการไอแห้ง และยาละลายเสมหะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัส และร้านยาทั่วไป


ทั้งนี้ ถ้าหากมีอาการไอติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีอาการไอเป็นเลือด รวมถึงมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น หายใจมีเสียง มีไข้สูง หายใจติดขัด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสม